วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

โครงงานวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ว. 40245 การทดลองพืช สมุนไพร (กระเทียม)



โครงงานวิทาศาสตร์

เรื่อง กระเทียมแคปซูลช่วยบำรุงร่างกาย ลดน้ำตาล ลดโคเรสเตอรอล บำรุงดี แก้ไข้ เจริญอาหาร
คณะผู้จัดทำ
นาย ประยุทธ เทียมเลิศ
นางสาว มุกดา จิตรรัมย์
นางสาว ฤดีมาศ เปรียบสม


อาจารย์ที่ปรึกษา นางรตนัตตยา จันทนะสาโร


โรงเรียนภัทรบพิตร
หมู่ 11 ตำบล เสม็ด อำเภอเมือง จังหวัด บุรีรัมย์ 31000
http://www.phattara.ac.th/
http://www.labschool.net/bhattra/
โทรศัพท์ 0-4461-1984


บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะทดลองนำพืชสมุนไพรไทย กระเทียม ซึ่งเป็นพืชที่หาง่ายและราคาถูก และที่สำคัญเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเต็มไปด้วยสรรพคุณ มาทดลองปลูกโดยปราศจากการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง และนำผลผลิตที่ได้มาผ่านกระบวนการ ฆ่าเชื้อและบดบรรจุใส่แคปซูล เพื่อรับประทาน ซึ่งมีสรรพคุณช่วยรักษา และโรคต่าง ๆ ได้ และสามารถพิสูจน์ได้จากทางการแพทย์สมุนไพร ว่ากระเทียมมีคุณสมบัติต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น และทางคณะผู้จัดทำโครงงานหวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากที่ท่านได้ศึกษาโครงงานการทดลองนี้แล้วท่านอาจจะมีความคิดต่อยอด เพื่อพัฒนาสมุนไพรไทย

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ หมวดการเกษตร โรงเรียนภัทรบพิตรเป็นอย่างสูง ที่ได้เอื้อเฟื้อพื้นที่สำหรับทำแปลงผักทดลองปลูกพืช
ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ รตนัตตยา จันทนะสาโร ที่ได้เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ คณะทำงานตลอดระยะเวลาที่ทำการทดลอง





ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

เนื่องจากกระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจ และมีการปลูกมากในภาคอีสานตอนล่าง และยังสามารถปลูกได้ง่าย ปลูกได้ทุกที่ และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงคิดว่ามันจะดีมากถ้าหากว่านำพืชที่ปลูกได้ง่ายและไม่ต้องเสียเงินลงทุนมาก และเป็นพืชผักสวนครัวของคนไทย มาทำงานทดลองตั้งแต่วิธีการปลูก การดูแล ไปจนถึงการเลือกคัดเอาผลผลิตที่ได้นำมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคมมมมมมมมมมมมมม ซึ่งปัจจุบันนี้พบว่าคนไทยมี อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ มันจะเป็นการใช้สมุนไพรเข้าช่วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาโรค และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกขั้นหนึ่ง ซึ่งตรงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีการรณรงค์ในปัจจุบันนี้






ขอบเขตของการทำการศึกษาค้นคว้า

ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการปลุกและทดลองปลูกด้วยตนเอง
ศึกษาและวิเคราะห์ถึงสรรพคุณของกระเทียม สรรพคุณทางการรักษาโรคและประโยชน์ด้านต่าง ๆ
ศึกษาผลที่ได้ของผลิตภัณฑ์ ว่ามีผลและสรรพคุณตามที่คาดคะเนไว้

สมมุติฐานของการศึกษา
1.กระเทียมแคปซูลช่วยบำรุงร่างกาย ลดน้ำตาล ลดโคเรสเตอรอล บำรุงดี แก้ไข้ เจริญอาหาร



ตัวแปร
ตัวแปรต้น
ตอนที่ 1 : กระเทียม

ตัวแปรตาม
แสงแดด

ตัวแปรควบคุม
ปริมาณกระเทียม
วัตถุดิบที่ใช้คือ แคปซูลเปล่า และ ผงกระเทียมบด

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
1.วัสดุ
1.1 กระเทียม
1.2 น้ำสะอาด

2.อุปกรณ์
2.1 แคปซูลเปล่า 2.2 เตาอบ
2.3 เครื่องบด 2.4 ตาชั่ง
2.5 ช้อนตักสาร 2.6 มีด
2.7 ถุงมืออนามัย




วิธีการทดลอง

1.นำกระเทียมมาแกะเป็นกลีบเล็ก ๆ










2.นำมา ล้างทำความสะอาด ด้วยน้ำสะอาด










3.ฝานเป็นแว่นบาง ๆ







4.นำเข้าเตาอบไฟ ให้แห้ง โดยใช้ไฟขนาดกลาง










5. บดให้เป็นผงละเอียดและบรรจุใส่แคปซูล





สรุปผลการทดลอง


จากการทดลองสรุปได้ว่า การทำกระเทียมแคปซูล เป็นการนำ กระเทียม ซึ่งเป็นพืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค ช่วยบำรุงร่างกาย ลดน้ำตาล ลดโคเลสเตอรอล แก้ไข้ เจริญอาหาร มาผ่านกระบวนการ ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ และบรรจุใส่แคปซูล ทำให้ได้ ผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ลดน้ำตาล ลดโคเลสเตอรอล แก้ไข้ เจริญอาหาร และยังเป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายและที่สำคัญราคาไม่แพงและเพาะปลูกได้ง่าย และยังเป็นการนำสมุนไพร ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามาแปรรูป ทำให้ได้ประโยชน์ ดังนั้นกระเทียมจึงมีประโยชน์และสรรพคุณในการรักษาโรคอีกด้วย และกระเทียมแคปซูลก็คือตัวยาที่มีสรรพคุณรักษาและช่วยในเรื่องนี้เช่นเดียว กัน แต่กระเทียมแคปซูลจะรับประทานง่าย พกพาสะดวก และง่ายต่อการถนอมรักษา และในปัจจุบันนี้ ในวิกฤตการณ์ ที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดีเท่าไหร่เราก็สามารถช่วยตัวเองได้ โดยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา ก็จะทำให้เราสามารถพึ่งพาตนเองได้




ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถนำมาเป็นยาเพื่อรักษาโรค ลดน้ำตาล ลดโคเลสเตอรอล แก้ไข้ เจริญอาหาร แปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ที่ มีสรรพคุณในการรักษาโรค รับประทานง่าย พกพาสะดวก และง่ายต่อการถนอมรักษา

ข้อเสนอแนะ

เราอาจนำโครงงานนี้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาสายพันธุ์พืช ให้มีสรรพคุณที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้อีก
เราอาจจะทำ หรือมีผู้อื่นทำวิจัย เกี่ยวกับ กระเทียมและได้ตัวยา ตัวใหม่และมีสรรพคุณ ใหม่ๆ ที่ค้นพบเพิ่มเติม อีกก็ได้



เอกสารอ้างอิง
ตำรายาสมุนไพรไทย

/





สรรพคุณน่ารู้ : หมวดพืชสวนครัว : กระเทียม


















ส่วนที่ใช้ส่วนที่อยู่ในดิน หัว ( Bulb) หรือกลีบ ( Cloves) หัวใช้สดหรือแห้ง
สรรพคุณใช้เป็นอาหาร คือเป็นส่วนผสมเพื่อแต่งกลิ่นหายาใช้ผสมกับขิงอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วนำมาบดละลายกับน้ำอ้อยกิน


จะแก้รัตตะปิตตะเสมหะ แก้เสมหะและลม แก้ฟกช้ำ แก้อืด กระจายโลหิต ผสมยารักษาโรคมะเร็งเพลิง มะเร็งคุด

มะเร็งเปื่อยทั้งตัว ผสมกับยาแก้ไอ แก้จุกเสียด แก้ลมบ้าหมู แก้ลิ้นแข็ง ช่วยบำรุงอาหาร ผสมในยาแก้ท้องอืด แก้เจ็บท้อง

ริดสีดวงทวาร ผสมยาทาแก้คลายเส้น แก้เมื่อย แก้กลาก แก้โรคผิวหนัง ผสมกับน้ำมันองคสูตรแก้ริดสีดวงทวาร คัน ฟกช้ำ

บวม เมื่อใช้ผสมน้ำนมหรือน้ำกะทิสดคั้นใช้ขับพยาธิเส้นด้าย กินอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ก็จะขับออก นอกจากนี้

เนื่องจากกระเทียมมีรสร้อน สามารถปริมาณ โคเลสเตอรอลในเลือดได้ ทำให้ลดการอุตตันของเส้นเลือดเป็นต้น
Tips
1. แก้ความดันโลหิตสูง เอากระเทียมประมาณ 250 หัว แช่กับเหล้าขาว ประมาณ 1 ลิตร ใช้เวลานาน 6 อาทิตย์ รินเอาน้ำใสใส่ขวดใช้รับประทานครั้งละครึ่งช้อนกาแฟ ตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง

2. แก้โรคแผลเน่าเปื่อย เอากระเทียมมาขูดเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือบดให้ละเอียด นำมาพอกที่แผล ปิดผ้านาน 20 นาทีแล้วแก้ออก จากนั้นก็ล้างด้วยน้ำที่สะอาด ทำเป็นประจำทุกเช้า-เย็น


3. แก้โรคกลากเกลื้อน นำเอาใบมีดมาขูด หรือกีดผิวหนังที่เป็นกลาก เกลื้อน ให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมขยี้ หรือทา 5-10 ก็จะแห้งหายไป

4. แก้ไขมันอุตตันในเส้นเลือด ใช้หัวกระเทียมที่ปอกเปลือกแล้วใส่ในภาชนะที่เป็นไห หรือโหลไว้ใส่น้ำผึ้งชนิดบริสุทธิ์ลงผสมให้ท่วมหัวกระเทียม แล้วปิดฝาให้มิดชิดดองทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ กินก่อนนอน วันละ 3 หัวพร้อมน้ำยากินติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์

5. ฆ่าเชื้อโรคภายในปาก ใช้กระเทียมบดให้ละเอียดแล้วคั้นกรองเอาน้ำ ออกใช้ผสมกับน้ำอุ่น 5 เท่า และผสมเล็กน้อย ใช้บ้วน กลั้วคอ ฆ่าเชื้อโรคในลำคอ ปาก ช่วยรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ และปากให้หายเหม็นได้

6. แก้จุกเสียดแน่นอืดเฟ้อ เอากระเทียม 5-7 กลีบ บดละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลและเกลือนิดหน่อย ผสมให้เข้ากันและเอาน้ำดื่มกิน หลังอาหารทุกมื้อ ช่วยแก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อยปวดท้อง เป็นต้น




การปลูกกระเทียม

โดย ผศ. ประสิทธิ์ โนรี

กระเทียม มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น กระเทียมจีน (ทั่วไป),


กระเทียมขาว, หอมขาว (อุดรธานี), กระเทียมหัวเทียม (คาบสมุทร) และหอมเตียม (ภาคเหนือ) เป็นต้น

เป็นพืชผักอายุหลายปี แต่นำมาปลูกเป็นผักอายุปีเดียว มีกำเนิดอยู่ในแถวเอเชียกลาง สันนิษฐานว่าเป็นพืชดั้งเดิมของจีนและอินเดีย

รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ มีบันทึกกล่าวว่าชาวโรมันไม่ชอบกระเทียม เนื่องจากมีกลิ่นแรง

แต่จะใช้ประกอบอาหารสำหรับทหารและทาส กระเทียมอยู่ในตระกูลเดียวกับหอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และกุ่ยฉ่าย

โดยกระเทียมจะสร้างกลีบหลาย ๆ กลีบและถูกห่อหุ้มรวมกันอย่างใต้เปลือก ซึ่งมีลักษณะบางสีขาวหรือชมพู หุ้มให้เป็นตัวเดียว

ใบเป็น ใบเลี้ยงเดี่ยว และแบน สามารถออกดอกและให้เมล็ดได้ นิยมขยายพันธุ์ด้วยกลีบเพราะให้ผลดีกว่า

กระเทียมจะมีคุณค่าทางอาหารต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักอื่น ๆ แต่อาหารบางชนิดจะหมดรสชาติ ถ้าหากขาดกระเทียม

โดยเฉพาะผู้ที่นิยมรสและกลิ่นของกระเทียม นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาแผล หลอดลมอักเสบ ไอ ท้องอืด

เฟ้อ อาหารไม่ย่อย โรคผิวหนังบางประเภท และความดันโลหิตสูง
กระเทียบเป็นพืชผักประเภทเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 75-180 วัน


ปกติเจริญเติบโตได้ดีในอากาศเย็นอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 12-22 องศาเซลเซียส

ช่วงแสงแดดยาวประมาณ 9-11 ชั่วโมงต่อวัน มีระยะการพักตัวเช่นเดียวกับพืชตระกูลหอมทั่ว ๆ ไป

ประมาณ 5-6 เดือน ถ้าหากเก็บรักษานานกว่านี้ จะเริ่มฝ่อหรืองอก โดยในปีแรกกระเทียมจะฝ่อเสียหายประมาณ 60-70%

กระเทียมที่ใช้เป็นอาหารมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. กระเทียมต้น ไม่มีหัว ปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ เพื่อรับประทานลำต้นและใบเป็นพืชผักสดเท่านั้น
2. กระเทียมหัว ปลูกด้วยกลีบ หรือหัวพันธุ์ มีหลายพันธุ์ ซึ่งมาจากแหล่งต่าง ๆ กันมีอายุยาวนานกว่าประเภทแรก

พันธุ์ที่ใช้ปลูก
ภาคเหนือนิยมปลูกพันธุ์พื้นเมืองเชียงใหม่ เชียงรายและพม่า


ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมปลูกพันธุ์พื้นเมืองศรีสะเกษ และภาคกลางนิยมปลูกพันธุ์บางช้าง และพันธุ์จีน หรือไต้หวัน
พันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรา สามารถแบ่งได้ตามอายุการแก่เก็บเกี่ยวได้ ดังนี้
1. พันธุ์เบา หรือพันธุ์ขาวเมือง ลักษณะใบแหลม ลำต้นแข็ง กลีบเท่าหัวแม่มือ กลีบและหัวสีขาว มีกลิ่นฉุนและรสจัด อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ 75-90 วัน เช่น พันธุ์พื้นเมือง ศรีสะเกษ เป็นต้น
2. พันธุ์กลาง ลักษณะใบเล็กและยาว ลำต้นใหญ่ และแข็ง หัวขนาดกลาง หัวและกลีบสีม่วง อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน นิยมปลูกมากในภาคเหนือ เช่นพันธุ์พื้นเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น
3. พันธุ์หนัก ลักษณะใบกว้างและยาว ลำต้นเล็ก หัวใหญ่ กลีบโต เปลือกหุ้มสีชมพู น้ำหนักดี อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน เช่น พันธุ์จีน หรือไต้หวัน เป็นต้น

แหล่งเพาะปลูก
กระเทียมสามารถเพาะปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศแต่เหมาะที่จะปลูกในแปลงที่เป็นดินร่วน


หรือระบายน้ำได้ดีและมีอุณหภูมิอากาศค่อนข้างหนาวเย็น เป็นระยะเวลายาวนานหลายเดือน

ดังนั้นบริเวณเพาะปลูกกระเทียมที่สำคัญของไทย ส่วนใหญ่จึงอยู่ทางภาคเหนือตอนบน

ที่สำคัญได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และอุตรดิตถ์

นอกจากนี้มีเพาะปลูกข้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์

ระยะเวลาเพาะปลูก
การเพาะปลูกกระเทียมส่วนใหญ่ จะปลูก 2 ช่วง คือ
1. เพาะปลูกช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์


อายุประมาณ 75-90 วัน กระเทียมรุ่นนี้เรียกว่ากระเทียมดอ หรือกระเทียมเบา นิยมใช้ทำกระเทียมดอง

ม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะฝ่อเร็ว
2. เพาะปลูกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม หลังการเก็บเกี่ยวข้าวและเก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน


อายุประมาณ 90-120 วัน เรียกว่ากระเทียมปี ใช้ทำกระเทียมแห้งเพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน

การเตรียมดินปลูก
ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกระเทียม ควรเป็นดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี
ถ้าหากเป็นกรดจัดจะทำให้กระเทียมไม่เจริญ ควรใส่ปูนขาวก่อนปลูกอย่างน้อย 15 วัน


เพื่อปรับดินให้เป็นกรดอ่อน ๆ (pH 5.5-6.8)
ก่อนไถควรหว่านปุ๋ยคอกก่อนประมาณ 4 ตันต่อไร ถ้าเป็นดินเหนียวควรใช้ไถบุกเบิกก่อนพรวน


ถ้าเป็นดินร่วนใช้เฉพาะพรวนและยกแปลงเพื่อการให้น้ำและระบายน้ำได้ดี
การเตรียมดินดีจะช่วยให้กระเทียมลงหัวดี และควรเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง


1 - 2.5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ปลูกระยะห่างระหว่างแปลง (ทางเดินหรือร่องน้ำ) ควรกว้าง 50 ซม.

การปลูก
กระเทียมปลูกโดยใช้กลีบซึ่งประกอบเป็นหัว นิยมใช้กลีบนอกปลูก เนื่องจากกลีบนอกมีขนาดใหญ่


จะให้กระเทียมที่มีหัวใหญ่และผลผลิตสูง การนำกระเทียมไปปลูกในฤดูฝน จะทำให้กระเทียมงอกไม่พร้อมกัน โตไม่สม่ำเสมอกัน
ขนาดของกลีบจะมีอิทธิพลหรือความสำคัญ ต่อการลงหัวของกระเทียม จากการศึกษาพบว่าพันธุ์ที่มีกลีบใหญ่


ถ้าหากใช้กลีบขนาดกลางปลูกจะทำให้ผลผลิตสูง พันธุ์ที่มีกลีบขนาดเล็ก ถ้าใช้กลีบใหญ่ที่สุดปลูกจะให้ผลผลิตสูง
ปกติกลีบที่มีน้ำหนัก 2 กรัม จะให้ผลผลิตสูง
การปลูกอาจให้น้ำก่อน และใช้กลีบกระเทียมจิ้มลงไปโดยเอาส่วนรากลงลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบ


เป็นแถวตามระยะปลูกที่กำหนด ในพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้หัวพันธุ์ 100 กก. หรือกลีบ 75-80 กก.

ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10 x 10 -15 ซม. จะให้ผลผลิตสูงที่สุด สำหรับกระเทียมจีนใช้ระยะปลูก 12-12 ซม.

และหัวพันธุ์ 300-350 กก.ต่อไร่ หลังปลูกจะใช้ฟางคลุมแปลงเพื่อควบคุมวัชพืช ที่จะมีขึ้นในระยะแรก

เก็บความชื้นและลดความร้อนเวลากลางวัน
การให้น้ำ
ควรให้น้ำก่อนปลูก และหลังปลูกกระเทียมควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ


และสม่ำเสมอในช่วงระหว่างเจริญเติบโต 7-10 วัน/ครั้ง สรุปแล้วจะให้น้ำประมาณ 10 ครั้ง/ฤดู

ควรงดการให้น้ำเมื่อกระเทียมแก่จัด ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 สัปดาห์
การคลุมดิน
หลังปลูกกระเทียมควรคลุมดินด้วยฟางข้าวแห้ง เศษหญ้าแห้ง หรือเศษวัสดุที่สามารถผุพังเน่าเปื่อยอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อควบคุมวัชพืชที่จะมีขึ้นในระยะแรก รักษาความชื้นในดิน ประหยัดในการให้น้ำและลดอุณหภูมิลงในเวลากลางวัน ทำให้กระเทียมสามารถเจริญเติบโตได้ดี
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้สำหรับกระเทียมในบ้านเรา ควรมีส่วนของไนโตรเจนเท่ากับ 1 ส่วน ฟอสฟอรัส 1 ส่วน และโปแตสเซี่ยม 2 ส่วน เช่น ปุ๋ยสูตร 10-10-15, 13-13-21 เป็นต้น อัตราปริมาณ 50-100 กก./ไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นตอนปลูก แล้วพรวนกลบลงในดิน ปริมาณครึ่งหนึ่งและใส่ครั้งที่ 2 ใส่แบบหว่านทั่วแปลง เมื่ออายุประมาณ 30 วันหลังปลูก ควรใช้ปุ๋ยเสริมไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก อัตราประมาณ 25-30 กก./ไร่


เมื่ออายุประมาณ 10-14 วันหลังปลูก
การกำจัดวัชพืช
กระเทียมเป็นพืชที่มีรากตื้น ดังนั้นควรกำจัดวัชพืชในระยะที่วัชพืชเริ่มงอก ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะแย่งน้ำอาหารและแสงแดดจากกระเทียมแล้ว เมื่อถอนจะทำให้รากของกระเทียมกระเทือนทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้ต้นเหี่ยวตายได้ ฉะนั้นเมื่อวัชพืชมี


ขนาดใหญ่ควรใช้มีดหรือเสียมมือเล็ก ๆ แซะวัชพืชออก
ส่วนสารเคมีกำจัดวัชพืชที่เกษตรกรในบ้านเรานิยมใช้กันมากคืออะลาคอร์ (ชื่อการค้า = แลสโซ่) อัตรา 0.36-.045 กก.ต่อไร่ (ของเนื้อยาบริสุทธิ์) โดยพ่นคุลมดินหลังปลูกก่อนที่กระเทียมและวัชพืชงอก นอกจากนี้ยังใช้ยาพาราควอซ์ (ชื่อการค้า = กรัมม๊อกโซน) พ่นตามร่องน้ำระหว่างแปลงทุกครั้งหลังจากให้น้ำ
การกำจัดโรค-แมลง
กระเทียมมีโรค-แมลงรบกวนมากทั้งในระยะที่กำลังเจริญเติบโต ( จะทำให้ผลผลิตลดลงต่ำมาก) และหลังการเก็บเกี่ยว ดังนี้
โรคที่สำคัญของกระเทียม ได้แก่
1. โรคใบเน่า มีเชื้อรา เป็นสาเหตุ
ลักษณะอาการ เริ่มแรกจะมีแผลเกิดขึ้นบนใบกระเทียม ลักษณะเป็นจุดสีเขียวหม่นและขยายออกไปเป็นแผลรูปยาวรี มองเห็นเป็นรอยบุ๋มเล็กน้อย ใบหนึ่ง ๆ อาจมีหลายแผลติดกัน จนใบแห้งและหักพับลงมา ทำให้ใบพืชไม่สามารถปรุงอาหารตามปกติได้ ถ้าเป็นในระยะที่ลงหัว หรือหัวแก่จัด และเกษตรกรเก็บรักษาหัวนั้นไว้ เชื้อโรคนี้อาจจะไปแพร่ระบาดในโรงเก็บได้
การป้องกันกำจัด
- เก็บส่วนใบที่เป็นแผลทิ้ง หรือเผาไฟ
- พ่นสารเคมี เช่น ไดโฟล่แทน หรือไดเทน-เอ็ม-45 ทุก 7 วัน ถ้าเป็นมากควรพ่นให้ถี่ขึ้นเป็น 3-5 วัน


หรือเพิ่มความเข้มข้นของยาเป็น 2 เท่า
2. โรคใบจุดสีม่วง มีเชื้อรา เป็นสาเหตุ
ลักษณะอาการ เกิดกับใบกระเทียม เริ่มแรกจะมีแผลหรือจุดสีขาวก่อน และจะขยายใหญ่เป็นแผลรูปยาวรี สีน้ำตาลอ่อนหรือม่วง


ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มหรือเหลือง แผลมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ในแต่ละใบอาจมีมากกว่า 1 แผล ทำความเสียหายแก่กระเทียมเช่นเดียวกับโรคใบเน่า

และสามารถทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต มีการเก็บเกี่ยวก่อนกำหนด หัวกระเทียมที่ได้ไม่แก่จัด ไม่เหมาะที่จะใช้ทำพันธุ์

และทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง
การป้องกันกำจัด คล้าย ๆ กับโรคใบเน่า และเฉพาะโรคชนิดนี้งดใช้ยากันราประเภทดูดซึมพวกเบนเลท
นอกจากนี้ก็มีโรคราน้ำค้าง ราดำ หัวและรากเน่าคอดินและเน่าเละ เป็นต้น

แมลงที่สำคัญ
1. ไรขาวหรือไรหอมกระเทียม
ลักษณะอาการ เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบพืช ทั้งอ่อนและแก่


สามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้งในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

ทำให้ใบและยอดอ่อนของกระเทียม มีอาการ หงิก งอ ม้วนตัวแน่น ไม่คลี่ยาวเหยียดไป และจะระบาดรวดเร็วมากในไม่ช้า

ใบก็จะเริ่มมีลายสีเขียวอ่อนและขาว จนในที่สุดเป็นสีเหลืองฟางข้าว และใบแห้งเหี่ยวคล้ายใบไหม้
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูแปลงกระเทียม ถ้าพบว่ากระเทียมแสดงอาการดังกล่าวให้รีบถอนทิ้ง
- ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงพวก พอสซ์ หรือโตกุไธออน ทุก 3 วันต่อครั้ง ประมาณ 4-5 ครั้ง


จนแน่ใจว่าหยุดลุกลาม จึงฉีดยาให้มีระยะห่างได้

2.เพลี้ยไฟหอม
ลักษณะอาการ ลำตัวขนาดยาว 1-1.2 มม. ตัวอ่อนสีน้ำตาลอ่อนถึงเขียว ตัวแก่สีเหลืองซีดถึงน้ำตาลอ่อน ทำลายกระเทียมโดยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ ทำให้เป็นจุดสีขาวซีด บางครั้งเป็นจุดลึกลงไปทำให้ใบซีดขาว และเหี่ยวแห้ง

การเก็บเกี่ยว
ลักษณะการแก่จัดของกระเทียม สามารถสังเกตได้ดังนี้
- มีตุ่มหรือหัวขนาดเล็ก ๆ เกิดขึ้นที่ลำต้นของกระเทียมตั้งแต่ 1 ตุ่มขึ้นไป
- ส่วนของยอดเจริญขึ้นมาหมดแล้ว และกำลังมีต้นดอกชูขึ้นมา
- ใบกระเทียม เริ่มแห้งตั้งแต่ปลายใบลงมามากกว่า 30%
- ใบ หรือต้นกระเทียม เอนหัก ล้มนอนไปกับพื้นดิน 25 % ขึ้นไป
- ดอก หรือโคนลำค้น บีบดูจะรู้สึกอ่อนนิ่ม
ถ้าพบลักษณะดังกล่าว ให้เริ่มถอนกระเทียมได้ ซึ่งจะมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 100-120 วันหลังปลูก หรือเมื่อถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวใบจะแห้ง ถ้าเก็บเกี่ยวช้าเกินไปจะทำให้กลีบร่วงได้ง่าย และได้กระเทียมที่มีคุณภาพไม่ดี
วิธีเก็บเกี่ยวคือ ถอนและตากแดดในแปลงประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยวางสลับกันให้ใบคลุมหัวเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด โดยตรง ตากไว้ 2-3 วัน ระวังอย่าให้ถูกฝนและน้ำค้างแรงในเวลากลางคืน นำมาผึ่งลมในที่ร่มสักระยะหนึ่ง ประมาณ 5-7 วัน ให้หัวและใบแห้งดี หลังจากนั้นนำมาคัดขนาดและมัดจุกตามต้องการ

การเก็บรักษา
กระเทียมที่มัดจุกไว้นำไปแขวนไว้ในเรือนโรงเปิดฝาทั้ง 4 ด้าน หรือใต้ถุนบ้านที่มีการถ่านเทอากาศดี ไม่ถูกฝน หรือน้ำค้าง รวมทั้งแสงแดด ประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะทำให้กระเทียมแห้งสนิท คุณภาพดี จึงนำลงมากองสุ่มรวมกันเพื่อเก็บรักษาหรือขายต่อไป กระเทียมหลังจากเก็บ 5-6 เดือน จะสูญเสียน้ำหนักไปประมาณ 30% ถ้าหากเก็บข้ามปีจะมีส่วนสูญเสีย 60-70%

การเก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง
เลือกคัดเอาหัวที่มีลักษณะรูปทรงของพันธุ์ดี สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงทำลาย และแก่เต็มที่แล้ว โดยทั่วไปนิยมคัดหัวที่มีขนาดกลาง มีกลีบประมาณ 3-6 กลีบ นำมาผึ่งในที่ร่มจนแห้งดี ทำการมัดรวมกันแล้วแขวนไว้ในที่ร่มมีลมพัดผ่าน การถ่ายเทอากาศดี ไม่ควรแกะกระเทียมเป็นกลีบ ๆ ขณะเก็บรักษาเพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง เมื่อแกะแล้วควรจะนำไปใช้ปลูกทันที
กระเทียมจะมีระยะพักตัวประมาณ 5-6 เดือน ถ้าสภาพอากาศเหมาะสมกระเทียมจะงอกได้ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป กระเทียมที่เก็บรักษาไว้จะต้องนำปลูกก่อนเดือนกุมภาพันธุ์ถ้าหากไม่นำลงปลูกจะฝ่อเสียหาย หรืองอกทั้งหมด.-